เพราะ นอกจากจะถ่ายทอดจินตนาการของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์และบุคคลสำคัญทาง ประวัติศาสตร์ในตำราเรียนในชั้นประถมและมัธยม ให้ออกมาโลดแล่นในทีวีแล้ว เอกลักษณ์ของการดูละครประวัติศาสตร์คือการถูกกระตุ้นความอยากรู้ของคนดูว่า ตัวละครที่ปรากฏในเรื่องแต่ละตัวมีตัวตนจริงหรือไม่ วิถีชีวิต ความเป็นอยู่ ภาษาและการแต่งกายของตัวละครเป็นแบบนั้นจริงๆใช่ไหม ก็เป็นเสน่ห์สำคัญของละครอิงประวัติศาสตร์เพราะฉะนั้น โจทย์ยากของละครพีเรียดอิงประวัติศาสตร์ก็หนีไม่พ้น "ข้อมูลทางประวัติศาสตร์" โดยเฉพาะผู้ชมในยุคโซเชียลที่สามารถเข้าถึงความรู้ทางประวัติศาสตร์ได้ ง่ายกว่าในอดีต การจะทำละครอิงประวัติศาสตร์ให้ตาสีตาสาดูแบบบันเทิงคดีอย่างเดียวคงไม่พอ เพราะหากแม้นมีละครเรื่องใดบังอาจหาญกล้ากระทำเยี่ยงนั้น ก็มิพักต้องถูกยำจากประดาชาวสยามผู้ดูละครเป็นแน่แท้
และ สำหรับละครข้าบดินทร์ ที่กำลังฉายที่ช่อง ๓ ตอนนี้ก็เช่นกัน ต้องชมผู้ประพันธ์ คุณวรรณวรรธน์ ที่ถึงพร้อมด้วยข้อมูลทางประวัติศาสตร์แบบดีเยี่ยม หาใช่นั่งเทียนเขียนแบบจินตนาสำคัญกว่าความขยันหาข้อมูล เพราะนิยายเรื่องนี้ไม่ง่ายเลย ที่จะเอาบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของนิยาย ด้วยข้อจำกัดหลากหลาย ทั้งการกระทำและความเป็นมาเป็นไปของตัวละครที่ต้องดำเนินไปตามบันทึกทาง ประวัติศาสตร์ และผลกระทบที่อาจมีมาจากทายาทของบุคคลเหล่านั้น แต่ก็เขียนออกมาได้ดีเยียม และเมื่อนำมาทำละครโดยทีวีซีน แม้จะได้ดูไม่กี่ตอน แต่ก็ออกมาใช้ได้ทีเดียวในแง่ของความเป็นพีเรียดอิงประวัติศาสตร์ เพราะค่ายนี้มีความละเมียดละไมกับละครแนวนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้วจากผลงาน ลูกทาสและขุนศึก
และสำหรับข้าบดินทร์แม้ บางอย่าง เช่น จารีตระหว่างขุนนาง การแต่งกาย ทรงผมบุรุษ หรือคำพูดตัวละคร อาจไม่ถูกต้องตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์มากนัก แต่องค์ประกอบส่วนอื่นก็นับว่าดีเยียมจนกลบส่วนที่บกพร่องไปได้พอสมควร
ภาพฟีตติ้งขุนนาฏยโกศล(คุณหมู ดิลก) เทียบกับภาพถ่ายขุนนางในชั้นเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ ๖
*แม้ ในภาพท่านขุนนาฏยโกศลจะแต่งตัวเกินบรรดาศักดิ์ไปมากมายมหาศาล แต่ก็เข้าในว่าเป็นเพียงการใส่ฟิตติ้งเท่านั้น ชุดนี้เห็นท่านเจ้าคุณราชสุภาวดีใส่ออกศึก
ขุน นางสยามตั้งแต่ปลายกรุงศรีอยุธยาลงมา การแต่งตัวเต็มยศใหญ่จะใส่เสื้อสักหราด สวมหมวกที่เรียกว่ามาลาเส้าสูง (สำหรับเจ้านายจะประดับพระยี่ก่าหรือขนนกสีขาวบนพระมาลาด้วย) ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงตรัสว่า มาลาเส้าสูงคงได้แบบมาจากหมวกของคนเกาหลี (ซึ่งรับมาจากพวกมองโกลในสมัยราชวงศ์หยวนอีกที)
ภาพคุณหญิงชมเทียบกับสตรีราชสำนักเขมรที่ได้รับอิทธิพล ทรงผมของราชสำนักสยามมาเต็มๆ แม้คุณหญิงชมจะไม่ได้ลงทุนตัดด้านข้างผมแบบลานบิน แต่คอสตูมก็พยายามทำให้ใกล้เคียงที่สุดแล้ว
สำหรับผมทัดหรือผมปีก ไว้ไรผมพริ้วอ่อน เป็นพระราชนิยมว่าเป็นความงามของสตรี ในสมัยรัตนโกสินทร์ก่อนเลิกนิยมตอนต้นรัชกาลที่ ๕
เจ้างามปีกดัดทรงมงกุฎกษัตริย์ เจ้างามทัดกรรเจียกผมสมพักตร์สิ้น
เจ้างามไรไม่แข็งคดหมดมลทิน เจ้างามประทิ่นกลิ่นเกศขจายจร
(จารึกวัดพระเชตุพน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๓)
คำถามที่มักถามกันเสมอ เรื่องทรงผมของแม่ลำดวนและคนในบ้านขุนนาฏยโกศล
ภาพแม่ลำดวนเทียบกับภาพนางรำในสมัยรัชกาลที่ ๔ และนางรำของราชสำนักเขมรรัชกาลนักองค์ราชาวดี
สตรีชาวสยาม มีเพียงนางรำที่ไว้ผมยาว
ตัวละคร ที่เป็นบุคคลจริงตามประวัติศาสตร์
จขกท. ขอกล่าวถึงแค่สองตอนแรกก่อน ว่ามีใครเป็นใครบ้างและคงจะทยอยมาเรื่อยๆ
ภายหลังเป็นเจ้าพระยาบดินทรเดชา สมุหนายก และแม่ทัพใหญ่สำเร็จราชการต่างพระองค์
"จำได้สิ ชิวิตฉันต้องถูกจองจำติดคุกตารางมาหลายครา หนึงในนั้น ก็ด้วยความเอื้อเฟื้อของญาติผู้ใหญ่ของคุณหลวงมิใช่รึ"
บทสนทนาระหว่างเจ้าพระยาราชสุภาวดี กับหลวงสรอรรถ ตอนที่เข้าไปห้ามพ่อเหมไม่ใช้ต่อสู้กันกับลูกน้องหลวงสรอรรถ
นอกจากจะบอกที่มาที่ไปของท่านเจ้าคุณผู้นี้ ยังสามารถบอกด้วยว่าหลวงสรอรรถเป็นคนในตระกูลอะไร (แต่ไม่ขอเอ่ยชื่อตระกูล ให้ค้นหาเอง)
ชีวประวัติท่านไม่ต่างอะไรกับพ่อเหม หรืออ้ายเสมาแห่งขุนศึกเท่าใดนัก เคยต้องโทษฐานพายเรือตัดหน้าพระที่นั่งครั้งหนึ่ง และเคยต้องโทษฐานซ่องสุมกำลังจะเป็นกบฏ เพราะมีผู้ใส่ร้ายจากการที่ท่านค้าขายเศษเหล็กแล้วถูกกล่าวหาว่าจะเตรียมไป ทำอาวุธ
ดีที่ท่านได้รับการช่วยเหลือจากกรมกมื่นเจษฎาบดินทร์ (ต่อมาเป็นรัชกาลที่ ๓) และท่านก็ไต่เต้าจากนายทหารธรรมดาอาศัยฝีมือและความสามารถในการศึกจนเป็นขุนนางที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในแผ่นดิน
(ในละครมีฉากที่ท่านต่อสู้กับข้าศึกจนโดนแทงที่ข้างท้อง ฉากนี้คงนำมาจากเรื่องจริงที่ท่านได้ต่อสู้กับกองทัพเจ้าราชวงศ์ โอรสเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ตราวศึกปราบกบฏ ตอนนั้นกองทัพสยามกับเวียงจันทน์บังเอิญเจอกันกลางทางแบบต่างฝ่ายต่างไม่ ตั้งตัว จึงเกิดตะลุมบอนขึ้น ม้าของเจ้าพระยาราชสุภาวดีสะดุดคันนาล้มลง เจ้าราชวงศ์จึงแทงหอกไปถูกสีข้างท่านปักติดดินอยู่ ท่านเลยจับหอกไว้ไม่ให้ดึงออก เจ้าราชวงศ์จึงชักดาบที่คอม้าจะฟันซ้ำแต่หลวงพิพิธ(ม่วง) น้องชายท่านมารับดาบแทนตายคาที่ ท่านจึงชักมีดหมอที่เอวแทงเจ้าราชวงศ์ถูกต้นขาตกจากม้าก่อนองครักษ์จะกันตัว หนีไป ทัพลาวเลยแตกกลับไปเวียงจันทน์)
ใน
สมัยรัชกาลที่กาลที่ ๓ มีกวีเอกหญิงฝีปากกล้าท่านหนึ่ง
ขึ้นชื่อว่าเป็นนักเลงกลอนไม่กลัวใครนามว่า คุณพุ่ม
หรือฉายาบุษบาท่าเรือจ้าง
ท่านเคยแต่งกลอนล้อเลียนผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมืองในสมัยนั้น
เรียกว่าคำอธิฐานของคุณพุ่ม มีความบางตอนว่า
"ขออย่าให้เป็นคนชิดของเจ้าคุณผู้ใหญ่ ขออย่าให้เป็นคนใช้ของเจ้าพระยานครขออย่าให้เป็นคนต้มน้ำร้อนของพระยาศรี ขออย่าให้เป็นมโหรีของพระยาโคราช..."
เจ้า คุณผู้ใหญ่ เป็นคำเรียกของขุนนางเพียงท่านเดียวในสมัยประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ คือ เจ้าพระยาบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาบดินทร์ ทรงยกให้เป็นขุนพลแก้วคู่รัชกาล และเป็นขุนนางเพียงคนเดียวที่พระองค์ทรงเกรงใจและเรียกท่านว่า "พี่บดินทร์" บ้าง "พี่สิงห์" บ้าง และสามเหตุที่คุณพุ่มอธิฐานว่าขออย่าเป็นคนชิดเจ้าคุณผู้ใหญ่นั้น เป็นเพราะท่านเป็นคนเถรตรงและเด็ดขาดมากกับคนทำผิดแม้ผู้นั้นจะคนสนิทหรือ ลูกหลานท่านก็ไม่เว้น เช่น ในสงครามกับญวน ท่านได้สั่งให้ตัดศีรษะนายขำ บุตรคนที่ ๑๘ ของท่านในข้อหาขลาดกลัวต่ออริราชศัตรู เพราะแตกทัพญวนแล้วหนีออกมา
และครั้งหนึ่งมี ผู้ฟ้องร้องว่า นายสนิทหุ้มแพร (แสง) บุตรชายของท่านอีกคน ฐานลักลอบขายฝิ่น ท่านจึงสั่งให้จับบุตรชายมามัดมือมัดเท้าโยงหลักปักคาเพื่อจะลงอาญาเฆี่ยน ๑๐๐ ครั้ง พอเฆี่ยนได้ ๘๔ ที ก็สลบคาหลัก แต่ท่านก็ยังสั่งให้เฆี่ยนจนครบจนเจ้าหมื่นสรรเพชภักดี บุตรเขยของท่าน กราบเรียนว่า "ถ้าเฆี่ยนอีก ๑๖ ที เห็นจะตายในคา"
ท่านกลับมีบัญชาว่า "ตายก็ช่างมันเถิด จะได้ไปเกิดใหม่เป็นคนดี" จนเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จออกขุนนาง ทอดพระเนตรเห็นขุนนางมาเฝ้าน้อยผิดปกติจึงตรัสถามได้ความว่าไปจวนเจ้าคุณ ผู้ใหญ่ดูการเฆี่ยนบุตรชายท่าน ก็ทรงตกพระทัยกลัวนายแสงจะตายอีกคน ก็โปรดให้พระยาศรีพิพัฒน์ไปห้ามพี่บดินทรเสีย
คุณชายช่วง หรือนายไชยขรรค์หุ้มแพร (ช่วง บุนนาค)
ภายหลังเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์รัชกาลที่ ๕
เป็น บุตรชายคนโตของเจ้าพระยาพระคลัง (ดิส บุนนาค) หลานปู่เจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดี (บุนนาค) นับโดยศักดิ์ คุณชายช่วงเป็นพระญาติผู้น้องในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สกุลบุนนาคเป็นราชินีกุลที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ คนในตระกูลนี้ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหพระกลาโหมตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนถึงรัชกาลที่ ๕คุณชายช่วง ว่ากันว่าเป็นหนึ่งใน "กลุ่มบุรุษงาม" ในสมัยนั้น คือคุณชายช่วง เจ้าฟ้าจุฑามณี และกรมหมื่นภูวเนตร ซึ่งมักมาสมาคมประชันบทกวีกันที่เรือนแพของคุณพุ่ม บุษบาท่าเรือจ้าง กวีเอกหญิงในสมัยนั้น คุณชายช่วงเป็นกลุ่มหัวก้าวหน้าในสมัยนั้นและเป็นหนึ่งในขุนนางไม่กี่คนที่ พูดภาษาอังกฤษได้ นอกจากนี้ยังเป็นชาวสยามคนแรกที่สามารถต่อเรือรบฝรั่งสำเร็จ และเป็นสนใจในวิทยาการตะวันตกมากทั้ง วิทยาการการพิมพ์ การแพทย์ การทหาร และการก่อสร้าง เป็นต้น
ขวา : ภาพถ่ายสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค)
รั้งตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลัง และสมุหพระกลาโหม พร้อมกันทั้งสองตำแหน่ง เป็นแม่ทัพเรือในการทำสงครามกับญวนคู่กับเจ้าพระยาบดินทร์เดชา สมุหนายก ที่เป็นแม่ทัพบก ภายหลังได้เป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ หรือที่นิยมเรียกกันว่า "สมเด็จองค์ใหญ่"
ท่าน ผู้นี้เป็นขุนนางตระกูลแขกเปอร์เซียอันสืบเชื้อสายมาจากชีค อะเม็ด หรือเจ้าพระยาบวรราชนายก สมัยอยุธยา ท่านเป็นบุตรของเจ้าพระยาอรรคมหาเสนาบดี (บุนนาค) สมุหพระกลาโหมในสมัยรัชกาลที่ ๑ มารดาคือ เจ้าคุณราชพันธุ์นวล ซึ่งเป็นพระน้องนางเธอในสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑ ท่านจึงนับโดยศักดิ์เป็นลูกพี่ลูกน้องกับพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ นั่นเอง ท่านมีบุตรชายเป็นสมเด็จเจ้าพระยา ๑ ท่าน เจ้าพระยา ๔ ท่าน พระยา ๗ ท่าน นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้สร้างวัดประยุรวงศาวาสด้วย
คำถามจากละคร คำตอบตามเกร็ดประวัติศาสตร์
ทำไมเจ้าพระยาพระคลัง ซึ่งเป็นเสนาบดีพระคลังถึงต้องมาอยู่เมืองปากน้ำ
ตอบ เพราะมีพระบรมราชโองการให้เจ้าพระยาพระคลัง เป็นแม่กองสร้างเมืองและป้อมปราการที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณเมืองสมุทรปราการและเมืองนครเขื่อนขันธ์(พระประแดง) โดยเป็นแนวป้อมปราการที่เชื่อมต่อกัน มีป้อมปืนหลายสิบป้อมและมีการวางแนวโซ่ริมแม่น้ำไว้เป็นระยะ
ชื่อของสมิงสอดน้อย
ตอบ ในละคร คงได้เห็นชื่อของสมิงสอดน้อย และได้ยินชื่อสมิงจักรเพชร แต่ชื่อดังกล่าวไม่ใช่ชื่อจริงๆ แต่เป็นชื่อบรรดาศักดิ์หรือเรียกง่ายๆว่า เป็นชื่อตำแหน่งนั่นแหล่ะ บรรดาศักดิ์ "สมิง" เป็นบรรดาขุนนางฝ่ายทหารเชื้อสายมอญ เทียบเท่าตำแหน่งพระ โดยจะเลื่อนบรรดาศักดิ์จากสมิงไปเป็นพระยา และเจ้าพระยาตามลำดับ ซึ่งสมิงที่เป็นขุนนางมอญมักมีตำแหน่งประจำกรมทหารที่ต้องปฏิบัติการรบแบบ พิเศษ เช่น กองอาทมาต (หน่วยสืบราชการลับ) ,กรมดาบสองมือ ,กรมอาสามอญ, กองอาจารย์ เป็นต้น
แผ่นดินกลางคืออะไร
ตอบ ถ้าฟังดีๆ มีฉากหนึ่งที่ตัวละครพูดถึง "แผ่นดินกลาง" คำๆนี้หมายถึง แผ่นดินสมัยรัชกาลที่ ๒
ขณะ นั้นประชาชนโดยทั่วไปเรียกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ว่า "แผ่นดินต้น" และเรียกรัชกาลที่ ๒ ว่า"แผ่นดินกลาง" พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่าประชาชนจะเรียกพระองค์ว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งไม่เป็นมงคล จึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และทรงถวายนามให้รัชกาลที่ ๑ ว่า "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" รัชกาลที่ ๒ ว่า "พระพุทธเลิศหล้านภาลัย" ตามพระชื่อพระพุทธรูป
ขณะ นั้นประชาชนโดยทั่วไปเรียกพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๑ ว่า "แผ่นดินต้น" และเรียกรัชกาลที่ ๒ ว่า"แผ่นดินกลาง" พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเกรงว่าประชาชนจะเรียกพระองค์ว่าแผ่นดินปลาย ซึ่งไม่เป็นมงคล จึงให้สร้างพระพุทธรูปประจำพระเจ้าอยู่หัวทั้งสองพระองค์ และทรงถวายนามให้รัชกาลที่ ๑ ว่า "พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก" รัชกาลที่ ๒ ว่า "พระพุทธเลิศหล้านภาลัย" ตามพระชื่อพระพุทธรูป
คุณ สมาชิกหมายเลข 2012168 สมาชิกเวบไซต์ pantip.com