แพทย์เตือน!! มนุษย์สังคมก้มหน้า..เสี่ยงสารพัดโรค!!

นพ.กฤษดา ศิรามพุช ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ ภายใต้ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ปัจจุบัน มือถือ สามาร์ทโฟน แท็ปเล็ต เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมาก เรามักเห็นภาพชินตาจากการจดจ่ออยู่หน้าจอที่อยู่ตรงหน้า โดยไม่สนใจสิ่งรอบข้าง จริงอยู่ว่าอุปกรณ์ดังกล่าวช่วยอำนวยความสะดวก ตอบสนองทุกความต้องการได้ในเวลาอันรวดเร็ว แต่ก็มีด้านที่ต้องระวังเกี่ยวกับอุปกรณ์ก้มกดนี้ โดยเฉพาะ แสงจากหน้าจอ ที่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า มีผลการศึกษาพบว่ามีผลกระทบต่อสมองและสุขภาพของมนุษย์ ระบบเสียงก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้เราลืมสนใจเรื่องรอบตัว และสิ่งที่ควรระวังอีกเรื่องคือ ความเครียดที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจจากการจดจ่ออยู่แต่หน้าจอโดยที่เรา ไม่รู้ตัว
 





“3 กลุ่มเสี่ยงที่พึงระวัง คือ มนุษย์ออฟฟิศ ที่ต้องทำงานหน้าจอ มนุษย์ก้มกด ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และมนุษย์ทั่วไป ที่ใช้หน้าจอในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม” นายแพทย์กฤษดา กล่าว


ผู้อำนวยการศูนย์เวชศาสตร์อายุ รวัฒน์นานาชาติ กล่าวว่า เพื่อให้ทุกท่านที่กำลังอยู่ในภาวะขาดอุปกรณ์อำนวยความสะดวกชนิดนี้ไม่ได้ ขอยก 10 ปัญหาพาป่วยของมนุษย์หน้าจอ เพื่อทราบถึงอันตรายที่จะมาถึงตัว ดังนี้ 
 
        1.โรคก้มกด นำไป สู่อาการปวดคอเรื้อรัง มีอาการปวดบ่าไหล่ไปถึงหลังได้ ซึ่งเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์กระดูกคอที่นิวยอร์กชี้ว่าโรคก้มกด (Text neck) นี้กำลังระบาด เป็นอาการของคนยุคใหม่ ในการก้มคอไปข้างหน้าแต่ละนิ้วแต่ละเซ็นติเมตรมีผลทั้งสิ้น ให้คิดง่าย ๆ ว่ายิ่งก้มกดนานก็ยิ่งทำร้ายกระดูกและกล้ามเนื้อที่ละเอียดอ่อนรอบคอ 


2.กระดูกคอเสื่อม การศึกษาชี้ว่าการก้มดูหน้าจอ นานและบ่อย มีผลให้น้ำหนักกดกระดูกต้นคอทั้ง 7 ชิ้นจนเกิดภาวะเสื่อมก่อนวัยได้ แต่หากไม่นานมาก็ไม่ส่งผล แต่ถ้านานประมาณดูซีรีส์เกาหลีจบก็น่าห่วง เพราะชีวิตที่ต้องก้มกดนานทำให้คอต้องรับน้ำหนักพอๆกับมีเด็ก 8 ขวบ (30 กิโลกรัม)มาขี่คอตลอดเวลา
 
 3.โรคเพลียตา อาการตาล้ารวมถึงตาแห้งอาจเกิดได้ มีสัญญานคือล้า ปวดรอบกระบอกตา เพลียตาคล้ายตาจะปิด มีอาการนานเข้าทำให้ปวดศีรษะได้ด้วย ขอให้ช่วยพักตาเป็นระยะด้วยการเบรกการใช้หน้าจอบ้าง รวมถึงการติดแผ่นกันแสงสะท้อน(Anti-glare) ถือเป็นการช่วยล้างพิษดิจิตอล(Digital detox)ไปในตัว  


4.นอนไม่หลับ จากแสงหน้าจอ โดยเฉพาะในแสงแถบสีฟ้าที่ท่านอาจมองไม่เห็นแต่มันเป็นแถบสีหนึ่งที่รวมอยู่ ในแสงสว่างจากจอที่พุ่งเข้ากระทบตาท่านผ่านไปถึงสมองจึงไม่ควรใช้บ่อยผิด เวลาเกินไปโดยเฉพาะในเวลาที่ควรนอนหลับพักผ่อน มีการศึกษาเรื่องนี้ในระดับลึกจนพบว่าแสงสว่างมีผลกดการสร้างเคมีนิทราใน สมองมีผลทำให้สุขภาพแย่ลง

  5.ท้องผูก เป็นผลทางอ้อมจากความเครียด นั่งนาน ยืนนานจากการจดจ่ออยู่กับหน้าจอเป็นเวลานาน ภาวะนี้อาจเกิดได้กับมนุษย์หน้าจอที่ไม่ลุกขยับกายส่วนใดเลยนอกจากมือบนหน้า จอ ทำให้ลำไส้ไม่ขยับจนมีปัญหาเรื่องการขับถ่ายจนทำให้ท้องผูกได้ ในหลายคนเมื่อถ่ายลำบากบ่อยเข้าก็เรียกริดสีดวงมาเสริมด้วย 

6.ปวดศีรษะ เกิดได้จากผลกระทบหลายจุดของหน้าจอเช่นจากแสงการเพ่งนานและความเครียดจากการ เล่นเกมส์ แชทโต้ตอบหรืออ่านเฟสอย่างเอาจริงเอาจังซึ่งเรื่องนี้ตีพิมพ์ในวารสารชื่อ ดังอย่าง Journal of Vision มีการศึกษาหลายชิ้นพบว่าแสงสว่างจ้าและการกะพริบไม่นิ่งของแสงกระตุ้นปวดหัว ให้หนักขึ้นรวมถึงไมเกรนได้
    
7.กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ท่านที่เอาแต่สนใจหน้าจอจนลืมสนใจอาการปวดตามธรรมชาติ เมื่อกระเพาะปัสสาวะส่งสัญญาณให้เข้าห้องน้ำ แต่กลับเลือกที่จะจดจ่ออยู่หน้าจอจนลืมทุกอย่าง เมื่อต้องอั้นบ่อยเข้าก็มีส่วนทำให้เกิดอาการปัสสาวะขัดจนถึงอักเสบได้ เหมือนกัน




 8.ปวดหลัง อาการปวดนี้เกิดได้ในท่านที่อยู่กับหน้าจอได้ทั้งแบบที่ก้มกดและนั่งหน้าจอ เพราะอาชีพที่ทำงานจำเป็นต้องอยู่ชิดใกล้กับหน้าจอวันละหลายชั่วโมง เรื่องนี้อยู่ที่ท่านั่งมีส่วนด้วย ดังนั้นการจัดอิริยาบถให้เหมาะสมจึงจำเป็นอย่างยิ่ง
 

 9. อุบัติเหตุ มือถือและหน้าจอที่สะกดจิตให้เอาแต่ก้มดูจนลืมมองรอบตัว ส่วนที่หูก็มีที่ฟังเสียบอยู่จนไม่ได้ยินสรรพเสียงขณะข้ามถนนหรือขับรถ ปรากฏการณ์ มีโลกส่วนตัวกับหน้าจอนี้อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุจนต้องไปอยู่โลกหน้าได้ และสุดท้ายที่น่าห่วงคือ ถึงแก่ชีวิต หรืออาจเปลี่ยนชีวิตไปตลอดกาล เรื่องนี้ไม่ได้เกิดจากหน้าจอโดยตรงแต่ขึ้นอยู่กับผู้ใช้ ไฮเทคหน้าจอทั้งหลายจะกลายเป็นมฤตยูคร่าชีวิตได้เมื่อผู้ใช้ไม่อยู่ใน กาลเทศะที่เหมาะสม เป็นต้นว่าเดินตัดหน้ารถในขณะที่เสียบหูฟังจนไม่ได้ยินเสียงแตรเตือน หรือก้มลงดูแต่จอจนลืมมองถนนขณะอยู่หลังพวงมาลัย ทั้งหมดนี้เป็นภัยใกล้ตัวในขณะนี้ ติดจอได้แต่ก็ต้องรู้เท่าทันเพื่อชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี
 
กดถูกใจ (Like) ​ติดตามข่าวสารจาก อรุณสวัสดิ์




ขอบคุณเนื้อหาจาก : www.thaihealth.or.th




 
Previous
Next Post »