ประกาศใช้แล้ว! อัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่ายปี58

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎกระทรวง กําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๘
อาศัย อํานาจตามความในมาตรา ๖ วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๓ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้ 





ข้อ ๑ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกําหนดอัตราค่ารักษาพยาบาลที่ให้นายจ้างจ่าย พ.ศ. ๒๕๕๑ 
ข้อ ๒ เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นแต่ไม่เกินห้าหมื่นบาท 
ข้อ ๓ ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ ๒ ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มอีกไม่เกิน หนึ่งแสนบาท สําหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังต่อไปนี้ 
(๑) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของอวัยวะภายในหลายส่วนและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข 
(๒) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกหลายแห่งและต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข 
(๓) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของศีรษะและต้องได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ 
(๔) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของกระดูกสันหลัง ไขสันหลัง หรือรากประสาท 
(๕) ประสบภาวะที่ต้องผ่าตัดต่ออวัยวะที่ยุ่งยากซึ่งต้องใช้วิธีจุลศัลยกรรม 
(๖) ประสบอันตรายจากไฟไหม้ น้ําร้อนลวก ความร้อน ความเย็น สารเคมี รังสี ไฟฟ้า หรือระเบิด จนถึงขั้นสูญเสียผิวหนังลึกถึงหนังแท้ตั้งแต่ร้อยละยี่สิบห้าของพื้นที่ผิว ของร่างกาย 
(๗) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรัง ตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด 
ข้อ ๔ ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ ๓ ไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาล เท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้นอีก โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาลตามข้อ ๒ และข้อ ๓ แล้ว 
ต้องไม่เกินสามแสนบาท สําหรับการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยของลูกจ้างในลักษณะ ดังตอไปนี้ 
(๑) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ ๓ (๑) ถึง (๖) ตั้งแต่สองรายการขึ้นไป 
(๒) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยตามข้อ ๓ (๑) ถึง (๖) ที่จําเป็นต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือต้องพักรักษาตัวอยู่ในหอผู้ป่วยหนัก หอผู้ป่วยวิกฤต หรือหอผู้ป่วยไฟไหม้ น้ําร้อนลวก ตั้งแต่ยี่สิบวันขึ้นไป 
(๓) บาดเจ็บอย่างรุนแรงของระบบสมองหรือไขสันหลังที่จําเป็นต้องรักษาตั้งแต่สามสิบวันติดต่อกัน 
(๔) ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอย่างอื่นซึ่งรุนแรงหรือเรื้อรังตามข้อ ๓ (๗) 
(ก) เป็นผลให้อวัยวะสําคัญล้มเหลว 
(ข) กรณีอื่นนอกจาก (ก) ให้เป็นไปตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ 
ข้อ ๕ ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ ๔ สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริง ตามความจําเป็นเพิ่มขึ้น ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล ตามข้อ ๒ ข้อ ๓ และข้อ ๔ แล้ว ต้องไม่เกินห้าแสนบาท 
ข้อ ๖ ในกรณีค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายตามข้อ ๕ สําหรับลูกจ้างรายใดไม่เพียงพอ ให้นายจ้างจ่ายค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจําเป็นเพิ่มขึ้น ตามความเห็นของคณะกรรมการการแพทย์ โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ โดยเมื่อรวมกับค่ารักษาพยาบาล ตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ และข้อ ๕ แล้ว ต้องไม่เกินหนึ่งล้านบาท 
ข้อ ๗ ลักษณะการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่คณะกรรมการการแพทย์พิจารณาให้ความเห็น ว่านายจ้างต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นตามความในข้อ ๕ หรือข้อ ๖ ให้เป็นไปตามที่รัฐมนตรีประกาศกําหนด 





ข้อ ๘ การจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามข้อ ๒ ข้อ ๓ ข้อ ๔ ข้อ ๕ หรือข้อ ๖ หากลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ป่วยในมีค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าห้อง ค่าอาหาร ค่าบริการพยาบาล และค่าบริการทั่วไปให้นายจ้างจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวเท่าที่จ่ายจริงแต่ไม่ เกินวันละหนึ่งพันสามร้อยบาท 
ข้อ ๙ กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับรวมถึงลูกจ้างที่ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยอยู่ก่อน วันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับซึ่งเป็นผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาพยาบาล เป็นครั้งแรก และยังคงรักษาพยาบาลอยู่จนถึงวันที่กฎกระทรวงนี้มีผลใช้บังคับ 
ให้ไว้ ณ วันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๘
พลเอก สุรศักดิ์ กาญจนรัตน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
ขอบคุณข้อมูลข่าวจาก :bangkokbiznews.com
กดถูกใจ (Like) ​ติดตามข่าวสารจาก อรุณสวัสดิ์




Previous
Next Post »