แรงงงานพม่า
เรียกร้องหากรัฐบาลอนุมัติเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำให้กับแรงงานไทย 360
บาทต่อวัน ขอพ่วงด้วย อ้างค่าครองชีพสูงขึ้น
ขณะที่อดีตประธานหอการค้าห่วงปรับขึ้นค่าแรง
จะยิ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงยิ่งขึ้น
นายขิ่น วิน เจ เครือข่ายแรงงานต่างด้าวชาวพม่าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า
หากทางรัฐบาลไทยอนุมัติเพิ่มอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้กับแรงงานไทย 360 บาท
ต่อ วัน ตามที่แรงงานไทยเรียกร้อง ทางแรงงานต่างด้าวก็จะร่วมเรียกร้องด้วย
เนื่องจากอัตราค่าครองชีพในไทยปัจจุบัน สูงมาก
สินค้าทุกอย่างมีการปรับราคาทำให้แรงงานต่างด้าวต้องลำบากยิ่งขึ้น
ปัจจุบันที่อยู่ได้ส่วนใหญ่จะทำงานล่วงเวลาเพื่อให้ได้ค่าจ้างเพิ่ม
นางนฤมล ขรภูมิ อดีตประธานหอการค้าจังหวัดระนอง
เจ้าของธุรกิจร้านจำหน่ายคอมพิวเตอร์รายใหญ่ใน จ.ระนอง กล่าวว่า
ในสถานการณ์ทางเศณษฐกิจของไทยที่ยังตกต่ำและถดถอยในปัจจุบัน
คงไม่ใช่ช่วงจังหวะที่มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ ผลกระทบจากอัตราค่าจ้าง 300
บาทต่อวันที่ผ่านมาทำให้ผู้ประกอบการรายย่อยเลิกกิจการไปแล้วกว่า 30%
ในขณะที่การแข่งขันในตลาดส่งออกไทย
ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศเพื่อนบ้านที่มีต้นทุนต่ำกว่าได้
ดังนั้นการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำจะเป็นการเพิ่มต้นทุนให้สูงขึ้นอีก
ศักยภาพการแข่งขันก็จะลดลง ทางออกของแรงงานที่มีความเป็นไปได้ในขณะนี้
คือเรียกร้องขอเพิ่มสวัสดิการน่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า
นายนิคม ร่วมสุข เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา จ.ระนอง เปิดเผยว่า เกษตรกรชาวสวนทั้งชาวสวนยาง,ชาวสวนผลไม้,ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งอื่นๆ กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง หลังพบว่าลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมได้ทยอย เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการมากขึ้นจนปัจจุบันแทบหาคนงานมาทำงานสวนได้ยากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรที่ตกต่ำทำให้สัดส่วนรายได้ลดลงสร้าง ความเดือดร้อนให้กับเจ้าของสวน
ส่งผลกระทบถึงแรงงานต่างด้าวที่ถูกลดอัตราสัดส่วนค่าจ้างลง หรือเปอร์เซ็นต์ที่ได้จะลดลงเนื่องจากราคาสินค้าทางการเกษตรที่ตกต่ำ จนทำให้เจ้าของสวนจำนวนมากได้ทยอยเลิกจ้างแรงงานเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน ในขณะที่แรงงานต่างด้าวเองก็มองว่าเป็นงานลำบาก ส่วนใหญ่ต้องการทำงานที่อยู่ในโรงงานหรือสำนักงาน ร้านค้ามากกว่าที่ปัจจุบันมีความต้องการแรงงานเหล่านี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบว่าแรงงานต่างด้าวบางกลุ่มหันมาประกอบอาชีพเองทั้งการรับเหมา ต่างๆ อาทิก่อสร้าง,ทำความสะอาด เป็นต้น ทำให้ชาวสวนต้องแก้ปัญหาด้วยการปรับขึ้นเงินเดือนหรือเพิ่มส่วนแบ่งรายได้ รวมทั้งการหันมาจ้างคนไทย ซึ่งทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น
นายนิคม ร่วมสุข เครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา จ.ระนอง เปิดเผยว่า เกษตรกรชาวสวนทั้งชาวสวนยาง,ชาวสวนผลไม้,ปาล์มน้ำมัน รวมทั้งอื่นๆ กำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรง หลังพบว่าลูกจ้างซึ่งเป็นแรงงานต่างด้าวที่ทำงานอยู่ในภาคเกษตรกรรมได้ทยอย เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม และธุรกิจบริการมากขึ้นจนปัจจุบันแทบหาคนงานมาทำงานสวนได้ยากมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัญหาราคาสินค้าทางการเกษตรที่ตกต่ำทำให้สัดส่วนรายได้ลดลงสร้าง ความเดือดร้อนให้กับเจ้าของสวน
ส่งผลกระทบถึงแรงงานต่างด้าวที่ถูกลดอัตราสัดส่วนค่าจ้างลง หรือเปอร์เซ็นต์ที่ได้จะลดลงเนื่องจากราคาสินค้าทางการเกษตรที่ตกต่ำ จนทำให้เจ้าของสวนจำนวนมากได้ทยอยเลิกจ้างแรงงานเป็นจำนวนมากด้วยเช่นกัน ในขณะที่แรงงานต่างด้าวเองก็มองว่าเป็นงานลำบาก ส่วนใหญ่ต้องการทำงานที่อยู่ในโรงงานหรือสำนักงาน ร้านค้ามากกว่าที่ปัจจุบันมีความต้องการแรงงานเหล่านี้เป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบว่าแรงงานต่างด้าวบางกลุ่มหันมาประกอบอาชีพเองทั้งการรับเหมา ต่างๆ อาทิก่อสร้าง,ทำความสะอาด เป็นต้น ทำให้ชาวสวนต้องแก้ปัญหาด้วยการปรับขึ้นเงินเดือนหรือเพิ่มส่วนแบ่งรายได้ รวมทั้งการหันมาจ้างคนไทย ซึ่งทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มสูงขึ้น
นายสันติ นันตสุวรรณ จัดหางานจังหวัดระนอง
เปิดเผยว่า ในส่วนของจังหวัดระนองมีแรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติอยู่ในระบบรวม
52,576 คนไม่รวมแรงงานต่าวด้าวที่เปิดขึ้นทะเบียนใหม่ตามนโยบาย คสช.นายจ้าง
19,133 ราย โดย 5
กิจการแรกที่จ้างแรงงานต่างด้าวมากที่สุดอันดับแรกคือภาคการเกษตรและปศุ
สัตว์มีการจ้างงานแรงงานต่างด้าวรวม 20,557 คน นายจ้าง 9,367 ราย
,ภาคประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง แรงงาน 17,201 คน นายจ้าง 3,695 ราย
ภาคค้าส่งค้าปลีก แรงงาน 2,632 คน นายจ้าง 1,264 ราย
ภาคจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม แรงงาน 1,369 คน นายจ้าง 642 ราย
ที่มา:
https://www.facebook.com/540672942684449/photos/a.540673659351044.1073741828.540672942684449/836807409737666/?type=1&theater