ตำนานเบื้องหลังการสร้างพระธาตุที่และด้วยชีวิต เลือด น้ำตาของลูกอกตัญญูเพื่อเชิดชูพระคุณแม่






พระธาตุก่องข้าวน้อย เป็นเจดีย์เก่าสมัยขอม สร้างในพุทธศตวรรษที่ 23-25 หรือตรงกับสมัยอยุธยาตอนปลาย มีลักษณะเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูน รูปทรงแปลกไปจากเจดีย์โดยทั่วไป คือมีลักษณะเป็นก่องข้าว องค์พระธาตุเป็นเจดีย์เหลี่ยมย่อมุมไม้สาม ฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 2 เมตร ก่อสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ช่วงกลางขององค์พระธาตุ มีลวดลายทำเป็นซุ้มประตูทั้งสี่ด้าน ถัดจากช่วงนี้ เป็นสวนยอดของเจดีย์ที่ค่อยๆ สอบเข้าหากันเป็นส่วนยอด รอบนอกของพระธาตุก่องข้าวน้อย มีกำแพงอิฐล้อมรอบขนาด 5X5 เมตร นอกจากนี้ บริเวณด้านหลังมีพระพุทธรูปอยู่องค์หนึ่ง ก่อด้วยอิฐ ชาวบ้านนับถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากและอยู่คู่บ้านคู่เมือง ในทุกเดือนห้า ผู้คนนิยมมาสรงน้ำพระและปิดทอง เพราะเชื่อกันว่า ถ้าไม่ทำเช่นนี้ ฝนจะแล้งในปีนั้น
สำหรับประวัติความเป็นมาของพระธาตุก่องข้าวน้อยนั้นมีความน่าสนใจอย่าง ยิ่งและไม่เหมือนกับปูชนียสถานแห่งอื่นๆ ที่มักเกี่ยวพันกับเรื่องพุทธศาสนา เพราะเป็นเรื่องของหนุ่มชาวนาคนหนึ่งที่ทุ่มเททำงานตั้งแต่เช้าจนเที่ยง เกิดอาการหิวข้าวจนหน้ามืดตามัว บันดาลโทสะกระทำมาตุฆาตเพราะเพียงเหตุที่มารดาผู้มีพระคุณของเขาส่งข้าวให้ ช้า อีกทั้งข้าวที่เห็นดูน้อยจนโกรธว่าอาจไม่พอกิน แต่เมื่อกินจนอิ่มปรากฏว่ายังมีข้าวเหลืออยู่ เมื่อเห็นดังนั้น จึงได้สติคิดสำนึกผิด ที่กระทำรุนแรงต่อมารดาของตนเองจนถึงแก่ความตาย จึงได้สร้างธาตุก่องข้าวน้อยแห่งนี้ขึ้นเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศล ขออโหสิกรรมและล้างบาปที่ตนกระทำมาตุฆาต

สำหรับรายละเอียดของตำนานเรื่องนี้ คือ

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว เหตุเกิดที่บ้านตาดทอง ในช่วงฤดูกาลของฝน ชาวบ้านทุกครอบครัวออกไปไถนาเพื่อทำการเตรียมปักดำกล้าต้นข้าว และยังมีครอบครัวของชายหนุ่มคนหนึ่งเป็นเด็กกำพร้าพ่อ ได้ออกไปปลูกข้าวเช่นเดียวกัน





วันหนึ่งเขาไถนาอยู่จนตะวันขึ้นสูง เขารู้สึกเหน็ดเหนื่อยเป็นยิ่งนักอีกทั้งยังหิวข้าวมากกว่าทุกวัน โดยปกติแล้วแม่จะมาส่งก่องข้าวให้ทุกวัน แต่วันนี้กลับมาช้ากว่าปกติมาก เขาจึงหยุดไถนาแล้วเข้าไปพักผ่อนอยู่ใต้ต้นไม้ ด้วยความรู้สึกกระวนกระวายใจ ยิ่งตะวันขึ้นสูงแดดก็ยิ่งร้อนแรงขึ้นความหิวก็ยิ่งทวีคูณขึ้นตามไปด้วย ทันใดนั้นเองเขาได้มองเห็นแม่เดินเลียบมาตามคันนา พร้อมกับก่องข้าวน้อยๆ เขาบังเกิดความไม่พอใจที่แม่เอาก่องข้าวน้อยนั้นมาช้ามาก ด้วยความหิวจนตาลาย เขาคิดว่าข้าวในก่องข้าวน้อยนั้นคงกินไม่อิ่มเป็นแน่ จึงต่อว่าแม่ของตนว่า

"อีแก่ ไปทำอะไรอยู่ถึงมาส่งข้าวให้กูกินช้านัก ก่องข้าวก็เอามาแต่ก่องน้อยๆ กูจะกินอิ่มหรือ?"

ผู้ เป็นแม่ได้ยินดังนั้น จึงตอบกลับลูกรักไปว่า "ถึงกล่องข้าวจะเล็กแต่ก้อน้อยแค่รูปนอกข้างในแน่นนะลูกเอ๋ย ขอให้เจ้าลองกินดูก่อนนะลูกนะ"

อย่างไรก็ตาม ด้วยความหิว ความเหนื่อย ความโมโห ทำให้ลูกคนนี้หน้ามืดตามัว ไม่ยอมฟังสิ่งใดทั้งสิ้น เกิดบันดาลโทสะ คว้าเอาไม้แอกแล้วเข้าตีแม่ที่แก่ชราจนล้มลงแล้วก็เดินไปกินข้าว แม้กินข้าวจนอิ่มแล้วแต่ข้าวยังไม่หมดก่อง จึงรู้สึกผิดชอบชั่วดี รีบวิ่งไปดูอาการของแม่และเข้าสวมกอดแม่

"อนิจจา ในตอนนี้แม่สิ้นใจไปเสียแล้ว..."

ชาย หนุ่มร้อยไห้โฮออกมาด้วยความสำนึกผิดที่ตนได้ฆ่าแม่เพียงด้วยอารมณ์เพียง ชั่ววูบ เขาไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรดี จึงเข้ากราบ นมัสการสมภารวัดเล่าเรื่องให้ท่านฟังโดยละเอียด

สมภารวัดได้สอนแก่ เด็กหนุ่มว่า "การฆ่าบิดามารดาของตนเองนั้นเป็นบาปหนัก เป็นมาตุฆาต ต้องตกนรกอเวจีตายแล้วไม่ได้ผุดไม่ได้เกิดเป็นคนอีก มีเพียงทางเดียวที่อาจจะช่วยให้บาปเบาลงได้ก็ด้วยการสร้างธาตุก่อกวมกระดูก แม่ไว้ ให้สูงเท่านกเขาเหิน จะได้เป็นการไถ่บาปหนักให้เป็นเบาลงได้บ้าง"





ดัง นั้น เมื่อชายหนุ่มปลงศพแม่แล้ว จึงได้ขอร้องชักชวนญาติๆและชาวบ้านช่วยกันปั้นอิฐก่อเป็นธาตุเจดีย์บรรจุ อัฐิแม่ไว้ จึงให้ชื่อว่า "ธาตุก่องข้าวน้อยฆ่าแม่" จนตราบถึงทุกวันนี้
 
 ในปัจจุบันนี้ มีผู้เดินทางมากราบไหว้ธาตุก่องข้าวน้อยฯทุกวันเพื่อมาขอขมาลาโทษเหมือนกับ เป็นการไถ่บาปที่ทำให้พ่อแม่ของตนเสียใจ บางคนเมื่อมีลูกแล้วจึงได้รู้ว่าบุญคุณของพ่อแม่มากเหลือคณานับ เพิ่งรู้ว่าต้องเลี้ยงดูลูกนั้นยากหนักหนาซักเพียงใด จึงมาสำนึกที่ทำให้พ่อแม่ต้องเสียใจ หรือบางคนก็มากราบไหว้เพื่อรำลึกถึงบุญคุณของมารดาที่เฝ้าเลี้ยงฟูมฟักลูกมา จนเติบใหญ่

กดถูกใจ (Like) ​ติดตามข่าวสารจาก อรุณสวัสดิ์




Previous
Next Post »